หลวงพ่อคุ้ม


  พระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมมา อยู่ทางจังหวัดลพบุรี โดยมีพวก พ่อค้าเพชรพลอยต่างๆ ใช้เกวียนเป็นพาหนะเดินทางขึ้นล่องติดต่อทําการค้าขาย ระหว่างจังหวัดจันทบุรี ลพบุรี พิษณุโลก โดยพบพระพุทธรูปองค์นี้ทิ้งตากแดด ตากฝนอยู่หน้าถ้ําเขาพระนอน จังหวัดลพบุรี เกิดศรัทธาเลื่อมใสจึงได้อาราธนา บรรทุกใส่เกวียน เดินทางผ่านมาทางจังหวัดสระบุรี นครนายก จุดหมายปลาย ทางคือ จังหวัดจันทบุรี

พ่อค้ากลุ่มดังกล่าวได้เดินทางเข้ามาพักแรมในหมู่บ้านบางแตน มีวัดอยู่ วัดหนึ่งชื่อว่า วัดสีลาดสดทาทํา” (วัดบางแตน) ขณะนั้นวัดนี้มีพระภิกษุอยู่ เพียงรูปเดียว เป็นพระหลวงตา มีความรู้ทางสมาธิจิตสูง ได้เห็นพระพุทธรูปที่ พวกพ่อค้าบรรทุกใส่เกวียนมา เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงออกปากขอบิณฑบาต พระพุทธรูปนั้นจากพวกพ่อค้าเกวียน พวกพ่อค้าเกวียนนั้นก็ยินดีมอบถวาย พระพุทธรูปนั้น ให้เป็นสมบัติของวัดบางแตนสืบมาจนทุกวันนี้
พระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมมาไม่มีชื่อปรากฏแต่อย่างใด ท่านผู้เฒ่าเล่าว่าใน สมัยนั้น หมู่บ้านบางแตนยังเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น แผ่ เป็นบริเวณกว้างติดต่อกันไป และในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต้นกรุงธนบุรี บ้านเมืองเกิดความระส่ําระสาย พวกขุนนางข้าราชการถือพวกถือหมู่ ประชาชน ต้องเดือดร้อนหาความสงบสุขไม่ได้ ต่างพวกต่างหมู่ก็หนีเอาตัวรอด มีทหารหมู่ หนึ่งแตกหนีเข้ามาอาศัยซ่อนตัวอยู่ในบริเวณวัด ได้อาศัยวัดเป็นที่หลบซ่อนตัวเป็น เวลาช้านาน ผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านได้บนบานศาลกล่าวแลตั้งจิตอธิษฐานต่อ พระพุทธรูปนั้น ขอให้ช่วยปกป้องคุ้มครองรักษาให้แคล้วคลาดจากการติดตาม ของฝ่ายตรงข้าม จะด้วยอํานาจพระพุทธานุภาพของหลวงพ่อหรืออย่างไรไม่ ทราบได้ ทหารเหล่านั้นได้แคล้วคลาด รอดพ้นภัยอันตรายจากการติดตาม ของฝ่ายตรงข้าม จึงได้พากันขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อคุ้ม"
ตั้งแต่นั้นมา หลวงพ่อคุ้มประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดบางแตน ท้าย บางแตน อําเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ตลอดมาดังที่กล่าวแล้วข้างต้น จน อุโบสถหลังเก่า ชํารุดทรุดโทรมใช้การไม่ได้ ชักชวนประชาชน ร่วมกันดําเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น แล้วได้อาราธนา หลวงพ่อคุ้ม ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถหลังใหม่ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗
หลวงพ่อคุ้ม” เป็นพระพุทธรูปศิลาลักษณะเป็นหินทราย ถอดออกเป็นชิ้น ได้ ๑๖ ชิ้น ได้ปฏิสังขรณ์มาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง ปฏิสังขรณ์ครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อคุ้มเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาว ตําบลบางแตน และตําบลใกล้เคียงเป็นอย่างดี
ทุกๆ ปีจะมีงานนมัสการปิดทองเป็นประจํา ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๔ ๑๕ และ แรม ๑ ค่ํา เดือน ๓ เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน ได้อาราธนา หลวงพ่อคุ้มองค์จําลอง ออกแห่แล้วถวายน้ําสรงเป็นประจําของทุกปีเสมอมา และในเทศกาลสารทได้อาราธนาหลวงพ่อคุ้มองค์จําลองแห่ทางน้ํา ซึ่งตรง กับวันขึ้น ค่ํา เดือน ๑๑ เป็นประจําของทุกปี (ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เลื่อนไปแห่ หลวงพ่อคุ้มเป็นวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของทุกปี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น